โรคเบาหวาน





โรคเบาหวาน  เป็นโรคอันตรายอีกโรคหนึ่ง ปัจจุบันนี้นี้มีผู้คนเจ็บป่วยเป็นโรคเบาหวานกันมากขึ้น และผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานมักจะเป็นผู้ที่มีอายุประมาณ 40 ปี ขึ้นไปแล้ว และเป็นได้ทุกเพศทั้งหญิงและชาย แต่ถ้าอายุน้อยกว่า 40 ปี ก็เป็นกันได้แต่อาจจะน้อยกว่า สิ่งที่จะทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ง่าย เช่น การรับประทานอาหารตามความต้องการของตัวเอง  มีความสุขอยู่กับการรับประทานมากเกินไป  อย่างเช่น รับประทานอาหารแต่เนื้อสัตว์ ไข่ นม เนย หมู ไก่ เห็ด เป็ด มากจนเกินไป ผู้มีรายได้ฐานะดีส่วนใหญ่มักจะป่วยเป็นโรคเบาหวานมาก  และอีกกรณีคนที่นั่งๆ นอนๆ กินแล้วก็พักผ่อน พักผ่อนแล้วก็กินต่อไปอีก ก็มักจะเป็นโรคเบาหวานกันได้ง่ายๆ  เช่นกัน


การเป็นโรคเบาหวานนั้น จะเกิดอาการที่ผิดปกติกับตับอ่อนของเรา ซึ่งตับอ่อนจะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนอินซูลิน แต่เมื่อเราเป็นโรคเบาหวาน ตับอ่อนก็จะสร้างฮอร์โมนอินซูลินลดน้อยลงหรืออาจจะสร้างฮอร์โมนนี้ไม่ได้แล้ว ซึ่งอินซูลินที่ออกมานี้จะทำหน้าที่เผาผลาญน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงาน แต่เมื่อเป็โรคเบาหวาน ตับอ่อนก็ทำหน้าที่นี้ไม่ได้ อินซูลินที่เป็นฮอร์โมนก็มีไม่เพียงพออีก จึงทำให้น้ำตาลในร่างกายไม่ได้ถูกนำเอาไปใช้เป็นพลังงาน ผลที่เกิดคือทำให้เกิดการสะสมของน้ำตาลขึ้นมาในร่างกาย โดยเฉพาะจะไปอยู่ในกระแสเลือด รวมทั้งส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วย



พูดง่ายๆ ก็คือเกิดมีน้ำตาลสะสมกันมากมายเกินพอดี เกินความจำเป็นในร่างกายผู้ที่เป็นโรคเบาหวานไปแล้ว ส่วนไตทำหน้าที่กรองเอาน้ำตาลออกมาทางปัสสาวะ จึงทำให้น้ำปัสสาวะมีรสหวาน หวานจนมดขึ้นเลยทีเดียว กลายเป็นน้ำเชื่อมไปในทันที  ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานจะปัสสาวะบ่อยและมากกว่าบุคคลปกติทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน น้ำตาลที่ออกมาจากไตมากับน้ำปัสสาวะ จะนำเอาน้ำที่มีอยู่ในเลือดออกมาด้วย จึงทำให้ร่างกายผู้ที่เป็นเบาหวานขาดน้ำผิดธรรมดากว่าคนปกติทั่วไป

ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานจึงดื่มน้ำบ่อยมาก เดี๋ยวดื่ม เดี๋ยวดื่มอีกแล้ว บางกรณีผู้ป่วยบางคนก็ถ่ายอุจจาระมีไขมันปนออกมาด้วย  ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ร่างกายจึงซูบผอมลงไปเรื่อยๆ ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานจะมีดวงตาที่หวานด้วย แล้วดวงตาก็เกิดเป็นต้อขึ้นมาคือโรคต้อกระจกนั่นเอง ดวงตาจะฝ้าฟาง ขุ่นมัว มองอะไรก็ไม่ถนัด และผิวหนังของผู้ป่วยด้วยโรคนี้ก็มีน้ำตาลอยู่มาก จะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ทำให้เกิดบาดแผลได้ง่าย แต่เวลาจะหาย จะหายยากมาก ผู้ที่รับประทานอาหารประเภทไขมันมากๆ ชอบรสหวานจัด ก็จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้ง่ายเช่นกัน 


โรคเบาหวานนั้น แพทย์บอกว่าน่าจะเป็นกรรมพันธุ์ก็ได้ด้วย ถ้าพ่อแม่หรือบรรพบุรุษป่วยเป็นโรคเบาหวานแล้ว ลูกหลานก็อาจจะป่วยเป็นโรคเบาหวานตามไปด้วย ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานมักเกิดอาการคันตามผิวหนังเสมอ หากเป็นสตรีก็จะเกิดอาการบวมแดงที่บริเวณช่องคลอดอีกด้วย โดยปกติแล้วคนเราโดยทั่วไปจะไม่มีน้ำตาลในเลือดเกินปกติธรรมดา ก่อนรับประทานอาหารจะตรวจวัดได้ไม่เกิน 120 มิลลิกรัม/เลือด 100 ซีซี หากมีน้ำตาลในน้ำปัสสาวะจะต้องมีน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 180 มิลลิกรัม/เลือด 100 ซีซี  ในบุคคลที่สูงอายุบางรายมีน้ำตาลในเลือดสูงมากจนผิดปกติ กล่าวคือสูงถึง 300 มิลลิกรัม/เลือด 100 ซีซี แต่ตรวจไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะเลยก็มีอยู่




เมื่อเจ็บป่วยเป็นโรคเบาหวานแล้ว ยา "สมุนไพร" ย่อมช่วยได้เสมอเมื่อเอายาที่เหมาะสมถูกกับโรคมาใช้ประโยชน์เพื่อบำบัดรักษาโรคเบาหวาน โดยรับประทานตามกำหนด ตามขนาดและปฏิบัติตนเองให้เป็นไปตามคำแนะนำสม่ำเสมอ ควบคุมอาหารให้ดี อย่าไปรับประทานหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานๆ อย่ารับประทานผลไม้ที่มีรสหวานๆ อย่าดื่มเหล้าเบียร์ อย่าปล่อยให้ตัวเองอ้วนมากๆ อย่ารับประทานน้ำตาลและไขมันทุกชนิด อย่ารับประทานน้ำอัดลม ขนมหวานๆ 


ส่วนอาหารสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานที่สมควรรับประทาน อาทิเช่น วุ้นเส้น ผักใบเขียวชนิดต่างๆ ผักสีเหลืองก็ได้ ผลไม้ก็อย่าไปรับประทานที่มีรสหวานมากๆ  อาจจะรับประทานแตงไทย มะยม ฝรั่ง  ส้มโอ มะม่วงดิบ  ส้มเขียวหวาน การใช้น้ำมันสำหรับปรุงอาหาร ควรใช้น้ำมันพืชจะดีกว่าน้ำมันสัตว์และน้ำกะทิ น้ำมันมะพร้าวก็ไม่ดี แต่ว่าถึงจะรับประทานน้ำมันพืชก็ไม่ควรรับประทานมากเกินไป และอย่าลืมว่าจะต้องเอา สมุนไพร มาช่วยบำบัดรักษาอาการของเบาหวานด้วย มีอะไรบ้างขอแนะนำดังต่อไปนี้ 

"สมุนไพร" ที่บำบัดรักษาอาการเบาหวานที่ดีมีอยู่ก็คือ

1.ผลมะระ                          
2.ต้นกระทืบยอด (ไมยราบ)                
3.เถาตำลึงแก่
4.รากเตยหอม                    
5.ผลมะแว้งเครือ/มะแว้งต้น                
6.เมล็ดหว้า
7.ใบ/เมล็ดอินทนิลน้ำ (ตะแบกดำ)     
8.ต้นหมากดิบน้ำค้าง (หญ้ารากหอม)


ในวงการแพทย์แผนโบราณนั้นรู้จักกันดีว่า พืชสมุนไพรที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น สามารถเอามาบำบัดรักษาอาการของโรคเบาหวานได้ดีมาก ผู้ป่วยจะหายจากโรคอันทรมานนี้ได้เสมอเมื่อปฏิบัติตัวเองให้ดีตามคำแนะนำ ส่วนสูตรวิธีทำตามข้างล่างนี้เลย






ส่วนผสม
เนื้อของผลมะระผลเล็ก หั่นตากแห้ง        200  กรัม
ใบเตยหอมสับชิ้นเล็กๆ          1  ต้น


วิธีปรุง

นำเนื้อของผลมะระที่ตากแห้งมาใส่ในหม้อต้ม 3 ช้อนโต๊ะ ใส่ใบเตยหอมสับลงไปด้วย และใส่น้ำพอประมาณ ต้ม เคี่ยว ให้ตัวยาออกมาจากมะระมากๆ เคี่ยวให้น้ำยางวดแห้งลงเล็กน้อยก็ยกหม้อยาลงได้



ขนาดรับประทาน

นำมาดื่มครั้งละ 1 แก้วเล็ก เช้า กลางวันและเย็น วันละ 3 เวลา ดื่มทุกวันต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ 5 หรือวันที่ 6 ก็ลองไปให้แพทย์วัดน้ำตาลในเลือดดูว่าน้ำตาลนั้นลดลงไปแล้วหรือยัง หากลดลงก็หยุดยาได้ หากยังไม่ลดก็ดื่มยาต่อไปอีกจนลดลงเป็นปกติ อย่าลืมปฏิบัติตนเองในการควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด เพื่อผลการรักษาที่ดี

................................





ส่วนผสม
ต้นกระทืบยอดสด ล้างสะอาด    1  กำมือ
เตยหอมล้างสะอาด   1 ต้น

วิธีปรุง
เอาต้นกระทืบยอดมาสับเป็นท่อนสั้น ๆ รวมทั้งใบเตยหอมด้วย นำใส่หม้อต้ม เคี่ยวให้ตัวยาออกมามากๆ จนน้ำยางวดลงเล็กน้อยก็ใช้ได้

ขนาดรับประทาน
ดื่มครั้งละ 1 แก้วเล็ก เช้า กลางวันและเย็น ดื่มไปสัก 5-6 วัน ก็ลองไปวัดน้ำตาลในเลือดดูได้ว่าลดลงหรือยัง ซึ่งน่าจะลดลง

.............................




ส่วนผสม
เถาตำลึงแก่ล้างสะอาดทุบสับชิ้นเล็ก ๆ  1  กำมือ
ต้นเตยหอมล้างสะอาดสับชิ้นเล็ก   1 ต้น

วิธีปรุง
เอาสมุนไพรทั้ง 2 ชนิดมาใส่ลงไปในหม้อต้มยา ใส่น้ำพอท่วม 
ต้มเคี่ยว ให้งวดลงเล็กน้อย เอาน้ำมาดื่มเป็นยาได้

ขนาดรับประทาน
ดื่มครั้งละ 1 แก้วเล็ก เช้า กลางวันและเย็น วันละ 3 ครั้ง 3 เวลา  ดื่มไปสัก 5-6 วัน ลองไปวัดน้ำตาลในเลือดดูว่าลดไปแล้วหรือยัง  หากลดแล้วก็เลิกดื่ม ยังไม่ลดก็ดื่มต่อไปอีก และคอยตรวจน้ำตาลในเลือดดู หากลดแล้วจึงเลิกดื่มยาได้ ควบคุมน้ำตาลต่อไป

..................................




ส่วนผสม 
รากเตยหอมล้างสะอาด 1 กำมือ 
ต้นเตยหอมล้างสะอาดสับชิ้นเล็กๆ  1 ต้น

วิธีปรุง 
เอารากเตยหอมมาทุบ เอาต้นเตยหอมมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่หม้อต้มยา 
ต้ม เคี่ยวให้ตัวยาออกมามากๆ จนน้ำยางวดลงไปเล็กน้อย

ขนาดรับประทาน 
ดื่มครั้งละ 1 แก้วเล็ก เช้า กลางวันและเย็น วันละ 3 ครั้ง 3 เวลา 
ดื่มไปสัก 5-6 วัน แล้วลองไปวัดน้ำตาลในเลือดดูใหม่ว่าลดลดหรือยัง 
ลดแล้วเลิกดื่มได้และควบคุมอาหารเหมือนเดิม

................................






ส่วนผสม  
เอาผลมะแว้งเครือ / มะแว้งต้น มาสดๆ ล้างสะอาด
แล้วเอามาทำเป็นอาหารรับประทานได้ทันที 
เช่น เอามาจิ้มน้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาทู และน้ำพริกอื่นๆ 

ขนาดรับประทาน 
รับประทานเป็นอาหารสัก 20-30 เม็ด เช้า กลางวันและเย็น  
วันละ 3 ครั้ง ผ่านไปสัก 5-6 วัน ลองไปวัดน้ำตาลในเลือดดู น้ำตาลจะลดลง

.....................................





ส่วนผสม  
เมล็ดลูกหว้าสด  50 เมล็ด  
ใบเตยหอมสับชิ้นเล็ก ๆ 1 ต้น

วิธีปรุง 
เอามาใส่หม้อต้มยา ใส่น้ำลงไปพอประมาณ 
ต้ม เคี่ยวให้ตัวยาออกมามากๆ แล้วเอามาดื่มเป็นยาได้ทันที

ขนาดรับประทาน  
ดื่มครั้งละ 1 แก้วเล็ก วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น 
ดื่มไปสัก 5 – 6 วัน แล้วลองไปวัดน้ำตาลในเลือดดูว่าลดแล้วหรือยัง 
หากลดแล้วก็งดยาไม่ต้องดื่ม แล้วควบคุมอาหาร ควบคุมน้ำตาลต่อไป

..................................



ส่วนผสม 
ใบอินทนิลน้ำแห้ง 10 ใบ 
เมล็ดแห้งของอินทนิลน้ำ 5 ผล 
เตยหอมล้างสะอาดสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ 1 ต้น

วิธีปรุง 
เอาสมุนไพรทั้ง 2 ชนิดมาใส่หม้อต้มยา ใส่น้ำสะอาดลงไปพอท่วม 
ต้มเคี่ยวยานี้ไปจนน้ำยางวดลงเล็กน้อย น้ำยาละลายออกมากับน้ำแล้วยกลง 
คงปิดฝาหม้อต้มยาเอาไว้อีก น้ำยาเย็นลงแล้วเอามาดื่มได้เป็นยาทันที

ขนาดรับประทาน  
ดื่มครั้งละ 1 แก้วเล็ก เช้า กลางวันและเย็น วันละ 3 ครั้ง 
เวลาผ่านไปสัก 5 วัน ลองไปตรวจน้ำตาลในเลือดใหม่ว่าลดลงเป็นปกติแล้วหรือยัง 
หากลดลงแล้วให้เลิกยาได้ทันที ถ้ากำลังลดหรือเริ่มลดลงบ้างแล้ว 
ให้ดื่มยานี้ต่อไปอีกแล้วตรวจน้ำตาลในเลือดใหม่

.....................................



ส่วนผสม 
ต้นหมากดิบน้ำค้างล้างสะอาด 1 กำมือ 
เตยหอมล้างสะอาดสับชิ้นเล็กๆ  1 ต้น

วิธีปรุง  
เอาสมุนไพรทั้ง 2 ชนิดมาใส่หม้อต้มยา ใส่น้ำสะอาดลงให้ท่วมตัวยา
พอสมควร ยกหม้อตั้งบนเตาไฟ ต้มเคี่ยว 
ไปจนตัวยาละลายออกมากับน้ำจนงวดลงเล็กน้อย
ก็ยกหม้อต้มยาลงได้ ปิดผาหม้อเอาไว้ให้ความร้อนระอุทั่วกัน 
ตัวยาจะละลายออกมาอีกเรื่อย เย็นลงแล้วดื่มเป็นยาได้ทันที

ขนาดรับประทาน  
ดื่มครั้งละ 1 แก้วเล็ก เช้า กลางวันและเย็น วันละ 3 ครั้ง 
เวลาไปผ่านไปสัก 5-6 วัน ลองไปตรวจน้ำตาลในเลือดดูว่าลดแล้วหรือยัง 
หากลดแล้วก็เลิกดื่มยาได้ แต่ถ้ายังไม่ลดหรือเพิ่งลดลงเล็กน้อย
ให้ดื่มต่อไปอีก เพราะแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน 
มีลดเร็วลดช้าได้เสมอ ต้องควบคุมน้ำตาลเรื่องอาหารให้ดีด้วย 
เพื่อให้ได้ผลเมื่อดื่มยานี้

.....................................